วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

โคลงสี่สุภาพ


 โคลงสี่สุภาพ
        โคลงสี่สุภาพหนึ่งบทจะมี ๔ บรรทัด บรรทัดหนึ่งเรียกว่า "บาท" เพราะฉะนั้นโคลงสี่สุภาพหนึ่งบท จะมี ๔ บาท ในบาทหนึ่งจะมี ๒ วรรค วรรคหน้าจะมี ๕ คำ วรรคหลังของบาทที่ ๑ บาทที่ ๒ และบาทที่ ๓ จะมี ๒ คำ ส่วนวรรคหลังของบาทที่ ๔ จะมี ๔ คำ ซึ่งรวมแล้วโคลงสี่สุภาพหนึ่งบทจะมีจำนวนคำทั้งสิ้น ๓๐ คำ
        จำนวนพยางค์ต้องมีตามหน่วยที่ได้เขียนไว้ในแผนผัง ถ้าหากเป็นพยางค์ลักษณะของลหุอาจจะมีได้มากเกินกว่าที่แผนผังได้กำหนดไว้ก็ได้ แต่จะต้องไม่ยาวจนมีความรู้สึกว่าเยิ่นเย้อจนทําให้อ่านไม่ถูกทํานองและจังหวะไม่ได้
        การสัมผัส โคลงสี่สุภาพมีรูปแบบการสัมผัสดังแผนผัง นอกเหนือจากการสัมผัสบังคับตามแผนผังแล้ว นั้น ยังมีการสัมผัสอีกสองรูปแบบที่ช่วยเพิ่มความไพเราะให้กับคำประพันธ์ที่เป็นโคลงสี่สุภาพยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งได้แก่
        ๑. สัมผัสใน ได้แก่คำที่คล้องจองกันและอยู่ในวรรคเดียวกัน จะเป็นสัมผัสคู่เรียงคำไว้ติดต่อกัน หรือจะเป็นสัมผัสสลับ คือเรียงคำอื่นแทรกคั่นไว้ระหว่างคำสัมผัสก็ได้ สุดแต่จะเหมาะทั้งไม่มีกฎเกณฑ์จํากัดไว้ว่า จะต้องมีอยู่ตรงนั้นตรงนี้เหมือนอย่างสัมผัสนอก และไม่จำเป็นจะต้องใช้สระอย่างเดียวกันด้วย เพียงแต่ให้อักษรเหมือนกันหรือเป็นอักษรประเภทเดียวกันหรืออักษรที่มีเสียงคู่กันก็สามารถนำมาใช้ได้ สัมผัสในสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิดได้แก่ สัมผัสสระ และสัมผัสอักษร
        ๒. สัมผัสอักษร การสัมผัสอักษรระหว่างวรรคคือการให้คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสอักษรกับคำหน้าของวรรคหลังเช่น ขึ้น กับ เคียง กา กับ กู่ ตา กับ ตาม จ้อง กับ จึ่ง ดังตัวอย่างข้างล่าง
         โคลงหนึ่งบทจะมีวรรณยุกต์เอก ๗ ตำแหน่ง และวรรณยุกต์โท ๔ ตำแหน่ง ดังที่แสดงไว้ในแผนผัง


        ๓. ตำแหน่งวรรณยุกต์เอก และวรรณยุกต์โทในบาทที่ ๑ สามารถที่จะวางสลับตำแหน่งกันได้ คือเอาวรรณยุกต์ที่เป็นเอกไปวางไว้ในคำที่ ๕ และเอาวรรณยุกต์ที่เป็นโทมาไว้เป็นคำที่ ๔ ก็ได้ ในบรรดาโคลงทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นโคลงสุภาพ หรือโคลงดั้น สามารถนํามาสลับกันได้เสมอ ดังตัวอย่าง

     ไยแม่ย่างเท้าเยี่ยง     หญิงวัง
กะเดียดกะทายเพียงพัง    พับล้ม
พิศผ่องผ่ายผอมพลัง       เพลาซีด เซียวแม่       

 อยู่พี่แย่เยงก้ม    กัดก้อนเกลือกิน

        คำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ และคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และบาทที่ ๓ ห้ามใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์
        ห้ามใช้คำตายที่ผันด้วยวรรณยุกต์โท ในตำแหน่งโท

คำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์อื่น ๆ หากแต่ว่ากันว่าการลงท้ายบท การใช้เสียงจัตวาที่ไม่ปรากฎรูปจะเป็นที่นิยมและไพเราะยิ่ง
        คำที่เป็นเอกโทษคือใช้เอกในที่ผิด เช่น หน้า เขียนเป็น น่า ฯลฯ และ โทโทษ คือใช้โทในที่ผิด เช่น หรือ เขียนเป็น รื้อ , เล่น เขียนเป็น เหล้น ฯลฯ คำชนิดนี้โบราณผ่อนผันให้ใช้ได้ แต่มาบัดนี้ไม่ใคร่นิยมใช้เพราะเป็นการขอไปทีอย่างมักง่าย ทั้งทําให้รูปของคำที่นำมาใช้เสียไปด้วย
คําตายห้ามนํามาใช้เป็นคำสุดท้ายของบท
        ถ้าเนื้อความยังไม่สิ้นกระแส จะเติมสร้อยลงในท้ายบาทที่ ๑ บาทที่ ๒ บาทที่ ๓ และบาทที่ ๔ ก็ได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมที่จะเติมสร้อยในบาทที่ ๔ จึงไม่ใคร่จะได้เห็นในการแต่งโคลง ๔ สุภาพทั่ว ๆ ไป แต่หากในหนังสือโคลงรุ่นเก่า ๆ เราอาจจะพบเห็นได้บ่อย แม้หากเราจะแต่งเล่นบ้างก็สามารถที่จะทําได้ไม่ผิดข้อบัญญัติแต่ประการใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น